หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
รับผู้จบ ม.3 หรือเทียบเท่า
การเรียนการสอน
- วางแผน ดำเนินงานตามหลักการและกระบวนการ โดยคำนึงถึงการบริหารงานคุณภาพ การอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- ปฏิบัติงานพื้นฐานอาชีพคหกรรมศาสตร์ตามหลักการและกระบวนการ
- เลือกใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ในงานอาชีพตามหลักการและกระบวนการ โดยคำนึงถึงความประหยัดและความปลอดภัย
- ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เพื่อพัฒนาและสนับสนุนงานอาชีพ
- วาดภาพ ระบายสี รูปร่าง รูปทรง มนุษย์ สัตว์ พืชและผลิตภัณฑ์ของใช้
- ปฏิบัติงานวิจิตรศิลป์ มีทักษะด้านจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์สื่อผสมรูปแบบไทยและสากล
- พัฒนาตนเองให้มีบุคลิกภาพที่ดีมีจรรยาบรรณในวิชาชีพปรับตัวเข้ากับสังคมโลกาภิวัฒน์ อย่างมีความสุข
- ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานวิจิตรศิลป์ ให้ทันสมัย
แนวทางการประกอบอาชีพ
ช่างศิลป์ในหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน ศิลปินและนักออกแบบ อาชีพอิสระ เช่น ช่างเขียนลวดลาย ช่างผลิตของที่ระลึก ช่างปั้น ช่างเขียนภาพคนเหมือน – วิวทิวทัศน์ ช่างพิมพ์ ช่างสกรีน ฯลฯ
รายได้ (เริ่มต้น)
- ภาครัฐ 6,000 – 8,000 บาท
- ภาคเอกชน 7,000 – 9,000 บาท
- อาชีพอิสระ ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์
การศึกษาต่อ
สามารถศึกษาต่อในระดับ ปวส. และปริญญาตรีได้
ครูผู้สอน
Teachers
นายธานี สังข์เอี้ยว
หัวหน้าสาขาวิชาวิจิตรศิลป์
ข้าราชการครู
example@mail.com
08 8888 8888
นายสิทธิโชค ชูศรีทอง
ครูสาขาวิชาวิจิตรศิลป์
ครูพิเศษสอน
example@mail.com
08 8888 8888
นางสาวพรพรรณ พ่วงพูน
ครูสาขาวิชาวิจิตรศิลป์
ครูพิเศษสอน
example@mail.com
08 8888 8888
หน้าที่และความรับผิดชอบ
- การจัดทำแผนการจัดการเรียนการสอน ตารางเรียน ตารางสอน บัญชีวิชาเลือก จัดตารางสอนรวมและตารางส่วนบุคคลของแผนกวิชา
- ควบคุมดูแล ส่งเสริม กำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอน แก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน การฝึกงาน การวัดผลประเมินผล และการวิจัยในแผนกวิชาให้เป็นไปตามหลักสูตรและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
- วางแผนและดำเนินงานด้านมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาของแผนกวิชา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างต่อเนื่องและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกได้
- จัดหาดูแลรักษาวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือของแผนกวิชาให้ใช้งานได้เป็นปกติ และมีเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน
- สนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอน นวัตกรรม เทคโนโลยี และสิ่งประดิษฐ์ การใช้อุปกรณ์การเรียนการสอน การเขียนตำรา เอกสาร และใบช่วยสอนต่าง ๆ
- ติดตามและแนะนำเกี่ยวกับการทำโครงการฝึก โครงการสอน แผนการเรียนรู้ คู่มือครู ใบงาน ตลอดจนแฟ้มสะสมงาน โดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้สอดคล้องกับหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนการสอน
- ควบคุมการใช้วัสดุการศึกษา และลงทะเบียนผลิตผลของแผนกวิชาให้เป็นไปตามใบงาน
- ควบคุมดูแลและพัฒนาสำนักงาน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ให้สะอาดเรียบร้อยทันสมัยอยู่เสมอ
- ปกครองดูแลบุคลากรในแผนกวิชาให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และเสนอความดีความชอบของบุคลากรในแผนกวิชา
- ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
- จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น
- ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
- ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย